Saturday, 25 January 2025

ใครกันแน่! ที่เป็นผู้ใช้ทฤษฎีสมคบคิด?

11 May 2022
479

ทฤษฎีสมคบคิด หรือ ลัทธิการกบฏ (Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่น ๆ เพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อเรื่องนั้น ๆ สหรัฐมีหน่วยงานที่ดูแลและกลั่นกรองเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะ

อาจารย์นิก้า คาบิริ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตัดสินใจของมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ในนครซีแอตเติ้ล ก็เสริมว่า ทฤษฎีสมคบคิดเป็นลักษณะการคิดแบบหนึ่งซึ่งกล่าวโทษหรือพยายามจะอธิบายเหตุการณ์สำคัญ ๆ ว่าเป็นผลมาจากแผนการณ์บางอย่างที่ทำโดยบุคคลหรือองค์กรที่มีอำนาจ และผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดก็มักจะเชื่อว่ามีการปิดบังความลับบางอย่างจากสาธารณชนด้วยโดยยิ่งหากมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงหรือโดดเด่นช่วยตอกย้ำเรื่องดังกล่าวด้วยแล้ว ทฤษฎีสมคบคิดก็ยิ่งจะได้รับความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างของทฤษฎีสมคบคิดที่คนอเมริกันอาจจะเคยได้ยินหรือคุ้นหูกันดี ได้แก่เหตุการณ์

-อาคารแฝดของเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์พังถล่มลงมาจากการระเบิดซึ่งมีการวางแผนและควบคุม ไม่ใช่เพราะเครื่องบินที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้บังคับพุ่งชน

-โรคระบาดใหญ่โควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสที่หลุดออกมาจากห้องทดลองของจีน และอาจเป็นอาวุธชีวภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ใช่เชื้อโรคที่โดดข้ามสายพันธุ์จากสัตว์สู่มนุษย์

-ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ถูกลอบสังหารจากการวางแผนของซีไอเอ แก๊งค์มาเฟีย หน่วยงาน KGB และรองประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน ไม่ใช่จากมือปืนเพียงคนเดียว เป็นต้น

-การบุกเข้ายึดอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ปี 2564  เป็นผลมาจากทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง คือเรื่องว่าโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องพ่ายแพ้เพราะมีการโกงการเลือกตั้งประธานาธิบดีขนานใหญ่

ล่าสุดในประเทศไทยพบเหตุการณ์ที่นำผู้ใช้ทฤษฎีสมคบคิดมาใช้  ที่ภาพเหตุการณ์ของแม่ทัพภาคที่ 4  ซึ่งเป็นภาพเก่าตั้งแต่ปี 2562 ในขณะที่พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์(ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นเลขาคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ได้ร่วมคณะพูดคุยเดินทางไปพบปะกับแกนนำกลุ่มขบวนการต่างๆซึ่งพำนักในต่างประเทศซึ่งเป็นไปตามกรอบนโยบายของกระบวนการพูดคุยที่พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มที่ต้องการร่วมสร้างสันติสุขเข้าร่วมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ซึ่งการไปพูดคุยดังกล่าวมิใช่ไปโดยลำพังแต่อยู่ภายใต้การมีส่วนร่วมและรับรู้จากหลายภาคส่วน ได้มีกลุ่มคนบางกลุ่มกล่าวหาว่าภาครัฐร่วมกับนักการเมืองในพื้นที่ใช้ทฤษฏีสมคบคิด กับกลุ่มขบวนการในการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงเพื่อทำลายพี่น้องชาวไทยมลายูใน 3 จชต. และต่อมาได้มีการแชร์ข้อความดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งแท้จริงแล้วกลุ่มคนดังกล่าวตะหากที่เป็นฝ่ายใช้ทฤษฏีสมคบคิด โดยนำภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาใช้ที่มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน และบิดเบือนข้อมูล และนำมาเผยแพร่ในสื่อโซเชียล ซึ่งมีหวังทำลายควาน่าเชื่อถือของแม่ทัพภาคที่ 4  และมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหวังให้ประชาชนชาวไทยเกิดความแตกแยก ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของ กอ.รมน.ภาค 4 สน.

คุณปีเตอร์ ดิตโต อาจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ อธิบายว่า ทฤษฎีสมคบคิดมักเกิดขึ้นจากการที่คนมองโลกในแง่ถูกหรือผิดแบบขาวกับดำ และสามารถผลักดันผู้คนให้ทำอะไรบางอย่างที่ไม่นึกว่าจะทำมาก่อนได้ เป็นต้นว่ามีการปลุกขวัญผู้คนให้รู้สึกว่าตนทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น ต้องทำอะไรบางอย่างเพราะถูกขโมยผลการเลือกตั้งไป เป็นต้น

ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอมมอรีซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Personality ยังชี้ว่า เหยื่อของทฤษฎีสมคบคิดถูกโน้มน้าวได้ง่ายจากคนที่อยู่รอบข้าง จากข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ และจากโซเชียลมีเดียนั่นเองถึงแม้ว่าข้อมูลในทฤษฎีสมคบคิดเหล่านั้นจะไม่ใช่ความจริงก็ตาม

กลุ่มคนดังกล่าวข้างต้นได้นำทฤษฎีสมคบคิดมาใช้เพื่อหวังทำลายความน่าเชื่อมั่นของบุคคลและการทำงานของภาครัฐ เราคนไทยทุกคนต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของคนพวกนี้ ให้ความเชื่อมั่นว่า ท่านแม่ทัพภาคที่ 4 และ กอ.รมน.ภาค 4 สน. มีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้

——————————–