ในปีนี้ ทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน “ทองย้อย” ซึ่งชาวสวนทุเรียน ในพื้นที่ ม.3 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ซึ่งได้ปลูกไว้ ในแปลงปลูกทุเรียน จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ ที่มีทั้งทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ชะนี ก้านยาว ทุเรียนบ้านหลากหลายพันธุ์ รวมถึง พันธุ์ทองย้อย ซึ่งมีจำนวน 2 ต้น ผลผลิตได้เริ่มสุก จนได้ที่ หลังจากที่มีออเดอร์สั่งซื้อ ชาวสวน ก็ได้เร่งตัดผลผลิตที่แก่จัดเพื่อส่งขายสร้างรายได้ ซึ่งการเก็บทุเรียน“ทองย้อย” นั้น ก็จะเริ่มจากการปีนต้น พร้อมกับนำถัง ไม้ยาวที่เสียบกับมีดอยู่ด้านปลาย ขึ้นไปเลือกตัดทีละลูกใส่ในถัง เพื่อไม่ให้ผลทุเรียนตกลงพื้นซึ่งจะทำให้รสชาติไม่อร่อย หากลูกไหนที่อยู่ปลายกิ่งมากไม่สามารถไปตัดได้ ก็จะใช้ไม้ยาวที่มีมีดปลายแหลมตัดลูกพร้อมกับมีคนรับอยู่ใต้ต้น โดยทั้งชาวสวน และผู้ที่รับก็จะต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ในการเลือกและตัดทุเรียนเพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานรสชาติความอร่อยของทุเรียนทองย้อยที่มีเนื้อทั้งนุ่ม และ เหลืองสวย
นายยูโซะ ดอเลาะบองอ ชาวสวนทุเรียน บอกว่า สำหรับปีนี้ทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน “ทองย้อย” ที่มี 2 ต้น จะมีผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 300 กก. ขายได้ทุกปี พอผลผลิตเริ่มสุกก็มีคนสั่งจองมาตลอด ไม่ต้องไปขายที่ตลาด ลูกค้า ชอบรสชาติอร่อย กินแล้วติดใจ สำหรับราคาก็ไม่แพง อยู่ที่ กก.ละ 50 บาท
ส่วนทุเรียนหมอนทองคุณภาพ ที่ปลูกไว้ 1 แปลง ผลผลิตปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้วครึ่งต่อครึ่ง เนื่องจากสภาพอากาศ ตอนนี้ตัดไปขายแล้ว ราคาก็เหมือนกับปีที่ผ่านมา 80-90 บาท ก็พอใจแล้ว ช่วงนี้โควิดด้วย อยู่ราคาเดิมดีกว่าต่ำกว่านี้ ถ้าขายไม่ได้ก็จะแย่ สำหรับตลาดของหมอนทอง นั้น ก็จะขายกับทางปิดทอง ด้วย พ่อค้ามาซื้อถึงสวนด้วย ถึงแม้จะมีสถานการณ์ โควิด ก็ยังมีพ่อค้าเข้า
นายอับดุลอาฟิช สะตีมือมะ เกษตรอำเภอกรงปินัง เผยว่า พื้นที่ อ.กรงปินัง มีพื้นที่ทุเรียนที่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3,200 ไร่ ปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีการปลูกมากขึ้น ประมาณ 1,300 ไร่ ปีนี้ผลผลิตเฉลี่ย 1,000 กิโลต่อไร่ ประมาณ 2,800 ต้น ทั้งอำเภอ ในส่วนของ หน่วยงานราชการต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ได้มาให้ความรู้เกษตรกร ตั้งแต่การผลิต ลดต้นทุน การใช้ปุ๋ย ใช้ยาให้ถูกต้อง เน้นการเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ การตลาด ผลผลิตที่สุกแก่เต็มที่ รณรงค์ป้องกันแก้ปัญหาทุเรียนอ่อน เชื่อมโยงกัน
ในช่วงโควิด เกษตรกรเองมีการปรับตัวเน้นตลาดออนไลน์ โดยการสั่งจองทางออนไลน์ เฟสบุ๊ก ไลน์ ให้ทัน กับสถานการณ์ เพื่อลดการเคลื่อนย้ายไปสู่แหล่งตลาด ด้วย อีกส่วนหนึ่ง ก็จะส่งที่ตลาดมลายูบางกอก กรงปินัง ผลผลิต 80%
ส่วนของราคาปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ผลผลิตลดลงประมาณ 30% คุณภาพผู้บริโภคให้การยอมรับ ทำให้ผลผลิตราคายังดีอยู่ เกรด A B อยู่ที่ กก.ละ98 บาท
————————————–